เส้นทางการคมนาคม การเดินทางเข้าสู่ตำบล
การคมนาคมระหว่างหมู่บ้านในเขตพื้นที่ตำบลไปมาสะดวกมีถนนลาดยางเชื่อมติดต่อ ระหว่างหมู่บ้านในเขตตำบล และระหว่างหมู่บ้านกับเขตตำบลอื่นๆ และที่ว่าการอำเภอสำหรับการคมนาคมภายในหมู่บ้านถนนเป็นลูกรังมีสภาพชำรุดตาม อายุการใช้งาน เส้นทางเข้าสู่ไร่นามีสภาพทรุดโทรมไม่สะดวกต่อการเคลื่อนย้ายผลผลิต ทั้งนี้อาจจำแนกประเภทของการคมนาคมทางบกได้ดังนี้
1. ถนนลาดยาง เป็นทางหลวงชนบทของสำนักงาน รพช. ระหว่างหมู่บ้าน จำนวน 4 สาย ระยะทางรวมทั้งตำบล 39 กิโลเมตร สภาพปัจจุบันผิวจราจรกระเทาะมีสภาพทรุดโทรมเป็นหลุมเป็นบ่อ คิดเป็นร้อยละ 5 ของระยะความยาวถนน
2. ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นถนนสายสั้น ๆ ภายในชุมชนของหมู่บ้านส่วนใหญ่มีขนาดผิวจราจรกว้าง 3 – 4 เมตร ยาวสายละ 50 – 200 เมตร มีระยะทางยาวรวม 20 กิโลเมตร
3. ถนนลูกรัง เป็นทางเดินทางการเกษตร เข้าไปทำไร่ ทำนา ของหมู่บ้านสำหรับเคลื่อนย้ายผลผลิตเป็นหลัก ปัจจุบันมีสภาพชำรุดทรุดโทรมเป็นหลุม เป็นบ่อ ประมาณ ร้อยละ 30 ของระยะทางทั้งหมด ซึ่งมีความยาวรวมทั้งสิ้น 70 กิโลเมตร
4. สะพานมีทั้งสิ้น 10 สะพาน เป็นสะพานข้ามลำห้วย , ลำธาร
สภาพพื้นที่และระบบสาธารณูปโภค
จำนวนครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้ในเขต อบต. 2,900 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 80.00 จำนวนบ้านที่มีโทรศัพท์ 250 หลังคาเรือน คิดเป็นร้อยละ 25.00 ของจำนวนหลังคาเรือน
หมู่ที่ |
ถนน คสล. (สาย) |
ถนนลาดยาง (สาย) |
ถนนลูกรัง (สาย) |
1 |
19 |
1 |
6 |
2 |
14 |
1 |
4 |
3 |
12 |
4 |
8 |
4 |
12 |
1 |
10 |
5 |
9 |
2 |
12 |
6 |
7 |
1 |
5 |
7 |
10 |
1 |
1 |
8 |
12 |
1 |
12 |
9 |
2 |
2 |
5 |
10 |
20 |
1 |
15 |
11 |
17 |
2 |
4 |
12 |
7 |
2 |
18 |
13 |
10 |
- |
3 |
14 |
17 |
1 |
4 |